น้ำมันตับปลา-น้ำมันปลา” ต่างกันอย่างไร
ตับบ...ตับ ตับ
ตับ ตับ...ตับ ตับ ตับ ตับ ฮั่นแน่!!! เต้นตามกันเลยใช่ไหมคะ
5555
เปิดตัวอย่างเร้าใจ
เข้ากับเรื่องน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาเป็นที่สุด อิอิ
วันนี้แม่เขียดมาพร้อมสาระที่ทุกคนอาจจะคุ้นเคย
เพราะเราก็เคยได้ยินเรื่องนี้กันมาพอสมควร แต่พอสอบถามลึกๆลงไปถึงทราบว่า....หลายๆคนเข้าใจผิดในเรื่องน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลานะคะ
แม่เขียดและน้องมุกจึงตั้งใจนำบทความนี้มาเคลียร์ใจ(ว๊ายยยย...)กันค่ะ
รศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
(Faculty of Medicine Siriraj Hospital) ได้มีการชี้แจงถึงประโยชน์ที่แตกต่างกันของน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาอย่างละเอียด
น้ำมันปลา เป็นน้ำมันที่สกัดจากเนื้อ หนัง หัว
และหางปลาทะเล อาทิ ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแมคคอเรล ปลาแซลมอน ปลาทูน่า
น้ำมันปลามีกรดไขมันที่ร่างกายคนเราไม่สามารถสร้างเองได้
โดยเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (Polyunsaturated Fatty Acid) หรือ
PUFA 2 ชนิด ในกลุ่มโอเมก้า 3 คือ Eicosapentaenoic
acid (EPA) และ Docosahexaenoic acid (DHA).....ชื่อมันช่างยาวเหลือเกิน พูดง่ายๆคือ
ในน้ำมันปลามีกรดไขมันOmega3
ที่สำคัญ 2ตัวคือ EPA และ DHA นะคะ
ปัจจุบัน
วงการแพทย์ให้ความสนใจถึงความสัมพันธ์ของน้ำมันปลากับโรคหลอดเลือดหัวใจ
ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ และสาเหตุการเกิดโรคก็มาจากการที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจไหลเวียนไม่สะดวกเพราะผนังหลอดเลือดหนาและแข็งขึ้นจากการเกาะตัวของคอเลสเตอรอล
การอุดตันของเกร็ดเลือดที่รวมตัวกันส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาเลี้ยง
บางรายที่อาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้
ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้
จึงมักได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้รับประทานน้ำมันปลา
เพราะมีส่วนช่วยลดระดับไขมันในเลือด และยังช่วยลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด
ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ช่วยลดปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดได้เป็นอย่างดี
ในขณะที่ “น้ำมันตับปลา” จะสกัดจากตับของปลาทะเล นิยมรับประทานเพื่อเสริมวิตามินเอ
ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมเยื่อบุผิวให้เป็นปกติ นอกจากนี้ยังมีวิตามินดี
ที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสบริเวณลำไส้เข้าสู่ร่างกาย
ทำให้การสร้างกระดูกเป็นไปอย่างปกติ
สำหรับชาวสว.อย่างเรา แม่เขียดคิดว่า
การรับประทานน้ำมันปลาจะเหมาะกับเพื่อนๆที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง
โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
ส่วนน้ำมันตับปลาจะเหมาะกับเพื่อนๆที่ต้องการบำรุงผิว
รวมทั้งเสริมสร้างการสร้างกระดูกค่ะ แต่อย่างไรก็ดี....แม่เขียดก็ขอให้เพื่อนๆ
เลือกทานในปริมาณที่เหมาะสมนะคะ
รับประทานน้ำมันปลาอย่างไรจึงจะปลอดภัย
1. บุคคลทั่วไป
ควรรับประทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งอาหารที่มีกรด alpha –
linolenic acid สูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง เมล็ดธัญพืช เต้าหู้
เป็นต้น
2. ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรรับประทานน้ำมันปลา
ประมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน
3. ผู้ป่วยที่ต้องการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
ควรรับประทานวันละ 2 – 4 กรัม
ก่อนตัดสินใจรับประทาน
ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อนเพื่อความปลอดภัย
และพึงระวังว่าการรับประทานน้ำมันปลาขนาดสูง อาจทำให้ระดับวิตามินอีในร่างกายลดลงได้ค่ะ
อย่างไรก็ตามแม่เขียดแนะนำว่า...ถ้าหากทานปลาอย่างเป็นประจำ
การรับประทานน้ำมันปลาหรือน้ำมันตับปลาสกัด ก็อาจไม่จำเป็น จะปลาเล็ก..ปลาน้อย..ปลาตัวโต
หากเรารับประทานปลาเป็นประจำ
ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจหรือไขมันอุดตันก็จะน้อยกว่าคนทั่วไปค่ะ และที่สำคัญ....ยังมีผลวิจัยว่าสาร
DHA มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองโดยเฉพาะในส่วนของความจำ
และการเรียนรู้ เพราะสาร
DHA จะเข้าไปเสริมสร้างความเจริญเติบโตของปลายประสาทที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน
ทำให้เกิดการเรียนรู้ดีขึ้น ดังนั้นท่านไม่จำเป็นต้องซื้อปลาแพง ๆ มารับประทาน
เพราะแค่ปลาตาใส ๆ ที่วางขายในตลาดแถวบ้าน เช่น ปลาทู ปลาตะเพียน
ก็มีสารอาหารเหล่านี้ครบถ้วนแล้วค่ะ
หวังว่าเพื่อนๆจะเข้าใจเรื่องน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาเพิ่มขึ้นนะคะ
ด้วยรักและห่วงใย
แม่เขียด
เพจผู้สูงวัยใช่ไก่กา