แก่อย่างไร ไม่ให้ลืม

“ขี้ลืม” หรืออาการหลงลืม ถือเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้สูงวัยนะคะ เพราะเซลล์สมองของเราเริ่มเสื่อมสภาพ การทำงานของสมองและความจำจึงมีประสิทธิภาพน้อยลง แต่ถ้าขี้ลืมบ่อยครั้งจนน่าเป็นห่วง เช่น ลงมาหยิบของข้างล่าง แต่พอเดินมาถึงที่ ดันลืมว่าเราลงมาหยิบอะไร??!! (นั่นแน่...เป็นเหมือนกันใช่ไหมคะ แม่เขียดก็เป็นค่ะ 5555) แสดงว่าเราเริ่มขี้ลืมมากเกินไปแล้วนะ ต้องหันมาดูแลตัวเองให้ดีกว่านี้แล้วล่ะ หึ้ยย~

ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม

1. วางข้าวของให้เป็นที่เป็นทา

คนที่มีระเบียบในชีวิตมักจะเป็นคนไม่ค่อยขี้ลืมเท่าไรนัก เพราะมีการจัดระเบียบความคิดอย่างเป็นระบบ ดังนั้น เราจึงควรจัดระเบียบชีวิตให้ง่ายขึ้นโดยการเก็บสิ่งของให้อยู่ในที่ที่ควรจะอยู่อยู่เสมอ เช่น เก็บสมุดบันทึกไว้ในลิ้นชักชั้นบน เก็บกุญแจต่างๆ เช่น กุญแจบ้าน กุญแจรถ กุญแจลิ้นชักไว้บนโต๊ะข้างเตียง นอน เก็บเอกสารต่างๆ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบแจ้งชำระหนี้เอาไว้ในกล่องหรือลิ้นชักเฉพาะ หรือมีกล่องสำหรับเก็บยาทุกชนิด ซึ่งผู้สูงวัยเช่นแม่เขียดจะติดสติ๊กเกอร์หลากสีแปะไว้ที่ลิ้นชักและกล่องแต่ละกล่องว่า ใช้เพื่อเก็บอะไร จะได้หาได้ง่ายขึ้นค่ะ 

ถ้าเราทำให้เป็นนิสัย รับรองว่าจะไม่มีปัญหาว่าหาของไม่เจอหรือจะไม่รู้ว่าเอาของไปวางไว้ที่ไหนอย่างแน่นอน แม่เขียดคอนเฟริม!!

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง

2. จดสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน 

แท้จริงแล้วทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนขี้ลืมหรือไม่ก็ตาม ควรที่จะต้องมีสมุดบันทึกประจำวันเพื่อจดบันทึกถึงสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันเอาไว้ (หรือสมัยนี้อาจจะจดไว้ในโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต... ผู้สูงวัยก็ทันสมัยนะคะ อิอิ) รวมทั้งสมุดจดที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของเพื่อนและบุคคลสำคัญ หรือการจดบันทึกแผนการที่ต้องทำในแต่ละสัปดาห์หรือในเดือนถัดไป 

การมีสมุดบันทึกเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นสิ่งที่ช่วยเตือนความจำได้อย่างง่ายๆ อีกวิธีหนึ่ง เพียงแต่ว่าอย่าลืมจดแค่นั้นก็พอ 5555

 

ในภาพอาจจะมี 3 คน, ข้อความ

3. เขียนโน้ตเตือนความจำ 

เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเตือนความจำได้เป็นอย่างดี เช่น การเขียนข้อความลงในกระดาษโน้ตแล้วติดไว้ในสถานที่ที่เราต้องผ่านบ่อยๆ เช่น ตู้เย็น, กระจกที่โต๊ะเครื่องแป้ง, โต๊ะเขียนหนังสือ ประตูทางออก หรือจะใช้บอร์ดเล็กๆ เขียนเตือนความจำไว้ในห้องนอนหรือห้องนั่งเล่นก็ได้นะคะ การเขียนโน๊ตเป็นวิธีการเตือนความจำง่ายๆ ที่ช่วยคนสูงวัยขี้ลืมได้ดีทีเดียว อิอิ

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน

4. ไม่ทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกัน 

ยิ่งเราอายุเยอะ ยิ่งลืมง่าย ถ้าได้ทำสิ่งใหม่ จะมีโอกาสลืมสิ่งเก่าที่ทำอยู่ได้ง่าย ส่งผลให้เราทำอะไรไม่เสร็จซักอย่าง ดังนั้นผู้สูงวัยอย่าทำกิจกรรมหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เช่น รดน้ำต้นไม้ในเวลาเดียวกับที่เปิดเตาแก๊สอุ่นอาหารเอาไว้ เพราะอาจจะทำให้อาหารไหม้ได้ถ้าเราลืมไปว่าเราอุ่นอาหารทิ้งเอาไว้, เดินไปเล่นไลน์ขณะเปิดน้ำเตรียมซักผ้าทิ้งไว้ 

อย่าลืมนะคะ สำหรับสาว(เหลือ)น้อยอย่างพวกเรา ควรจะเลือกทำกิจกรรมเพียงอย่างเดียวในเวลาเดียว โดยหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมๆกันเพราะจะทำให้สมาธิในการจำลดลงหรือจำอะไรไม่ได้เลยค่า 555

ในภาพอาจจะมี 1 คน, อาหาร

5. ทานอาหารบำรุงสมอง 

ในปัจจุบันทางการแพทย์ได้มีการวิจัยว่ามีอาหารเสริมหรือสารอาหารบำบัดบางชนิดที่ช่วยให้ความจำดีขึ้นและช่วยป้องกันความจำเสื่อม เช่น สารสกัดจากใบแปะก๊วยที่เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปที่สมอง ซึ่งช่วยให้ความจำดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอาหารเสริมก็ไม่สำคัญเท่ากับการที่รับประทานอาหารให้ครบทั้งห้าหมู่อีกทั้งนอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ เพื่อที่สมองจะแจ่มใสและมีความจำที่ดีนั่นเอง

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน

6. ฝึกสมองอยู่เสมอ 

สมองเป็นอวัยวะหนึ่งที่ต้องได้รับการฝึกฝนอยู่เป็นประจำ มิฉะนั้นเมื่อถึงเวลาเสื่อมแล้วก็จะเสื่อมอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากคนที่มีนิสัยไม่ค่อยใส่ใจสิ่งแวดล้อมและใช้ชีวิตเรื่อยเฉื่อยมักจะขี้หลงขี้ลืมมากกว่าคนที่ใช้สมองอยู่เป็นประจำ กิจกรรมในการฝึกสมองไม่ให้เป็นผู้สูงวัยที่หลงลืมง่าย เช่น อ่านหนังสือ เล่มเกม ทำงานฝีมือ ระบายสี ฝึกทำอาหารเมนูใหม่ๆ 

ผู้สูงวัยควรจะทำกิจกรรมที่ทำให้เราได้คิดช่วยให้สมองได้ออกกำลังและเพิ่มความคิดที่รวดเร็วฉับไวขึ้น ส่งผลให้มีอาการหลงลืมน้อยล

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, ข้อความ

แม่เขียดเองก็เป็นคนหนึ่งที่มีอาการหลงลืมตามวัย และได้ค้นพบว่าวิธีแก้อาการขี้ลืมทั้ง 6 ข้อที่ได้กล่าวไปนั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาอาการหลงลืมได้จริงๆ แถมเป็นวิธีง่ายๆ ที่ทุกคนก็สามารถนำไปใช้ได้ไม่ยากแต่อย่างใดเลยค่ะ เพื่อนๆคนไหนมีเคล็ดลับฝึกสมองที่อยากจะนำมาแบ่งปันกัน คอมเม้นมาบอกแม่เขียดนะคะ เผื่อจะได้เป็นวิทยาทานแก่เพื่อนๆสว.(สวยทุกวัน)กันด้วยค่ะ��