เคล็ดลับอ่านให้ไม่ลืม ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ

การอ่านหนังสือเป็นประจำทุกวัน เป็นกิจกรรมที่ชาวสว.อย่างพวกเราชอบนัก เพราะเราโตมากับการเล่าเรื่องราวของหนังสือและสิ่งที่เราได้จากหนังสือคือ "ความรู้" ซึ่งเป็นสิ่งที่เมื่อเราอ่าน สมองสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ได้ทันที แตกต่างจาก สิ่งที่เราได้จากอินเตอร์เน็ต หรือ "ข้อมูล" ที่เปรียบเสมือนจิ๊กซอร์ชิ้นเล็กๆ ซึ่งต้องมีการนำไปร้อยเรียงเป็นเรื่องราวต่อกันสมองจึงจะนำไปใช้ได้ ดังนั้นถ้าเราอยากจะรู้ลึกในเรื่องใด การหาหนังสือมาอ่านร่วมด้วย ก็ยังดีกว่าการหาข้อมูลจากทางอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว!!

เอาล่ะ......เพื่อนๆอาจจะมีปัญหาเหมือนแม่เขียด คือ ชอบอ่านหนังสือ แต่อ่านแล้วจำไม่ได้ 5555 ทำให้เวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือหลายๆชม.ต้องสูญเปล่าไป วันนี้ปัญหาของเราจะได้รับการแก้ไข!! อั๊ยย๊ะ

เมื่อเรารับข้อมูล เช่น การอ่านหนังสือ, ดูหนัง, ฟังคลิป สิ่งที่จะทำให้เราจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ "ต้องมีการส่งออกข้อมูลออกไป" ภายใน1 สัปดาห์หลังจากรับข้อมูลนั้น เพราะเมื่อรับข้อมูล สมองของเราจะเก็บข้อมูลไว้ที่ที่เก็บความรู้ชั่วคราว แต่ถ้าสมองมีการเรียกใช้ข้อมูลหรือส่งออกข้อมูลอย่างน้อย 3 สัปดาห์หลังจากรับข้อมูล สมองจะเข้าใจว่าข้อมูลนั้นสำคัญ จึงย้ายข้อมูลเหล่านั้นไปเก็บไว้ในที่เก็บความรู้ส่วนจิตใต้สำนึก ที่จะทำให้เราจำข้อมูลนั้นได้ถึง 10-20 ปีเลยทีเดียว!!! ซึ่งการส่งข้อมูลแบ่งเป็น 4 แบบหลักๆ อาทิ...

1. เน้นข้อความหรือจดโน๊ตไปด้วยขณะอ่าน : การเน้นข้อความสำคัญมาก เพราะมันจะทำให้เราจับใจความสำคัญในหนังสือได้ อย่าเสียดายหรือกลัวหนังสือหมดค่าเพราะคุณค่าของหนังสือไม่ใช่หน้าตาที่สวยงาม แต่มันคือความรู้ที่อยู่ภายในต่างหาก ความรู้ที่เราจะได้จากหนังสือหลายๆเล่ม มีมูลค่าหลายหมื่นหลายแสน แถมเราต้องเสียเวลาที่มีค่าหลายชม.เพื่อตั้งใจอ่าน ถ้าเราลืมจำความรู้ที่มีค่าเหล่านั้นไม่ เราจะเสียต้นทุนที่แพงกว่าหนังสือเล่มละไม่กี่ร้อยมาก!!

2. เล่าใจความสำคัญให้เพื่อนฟัง หรือชักชวนให้เขาอ่านหนังสือเล่มนี้ : ขณะอ่านหรือหลังจากอ่านจบ เราควรเล่าใจความสำคัญให้เพื่อนฟัง เราเองก็จะจำได้ดีมากขึ้น ส่วนเพื่อนก็ได้ความรู้ด้วย ถือว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว แต่ถ้าเพื่อนไม่สะดวกคุยตอนนี้ ให้เราลองพูดอธิบายคนเดียว ประหนึ่งว่า เรากำลังอธิบายให้เพื่อนคนสนิทฟัง ก็ไม่เสียหายค่ะ อิอิ

3. โพสใจความสำคัญลง Social Network : ไหนๆก็โพสไร้สาระแทบทุกวัน ลองหันมาโพสสาระดีมีประโยชน์บ้าง อิอิ

4. เขียนวิจารณ์หนังสือ : เป็นหนึ่งวิธีที่ต้องใช้การไต่ตรองอย่างสูง โดยควรวิเคราะห์มากกว่าอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อหนังสือเล่มนั้น แต่ควรวิเคราะห์ถึงความรู้ของหนังสือเล่มนั้นว่ามีประโยชน์อย่างไร เหมาะกับใคร คุ้มค่าที่จะอ่านหรือไม่

หลังจากอ่านหนังสือ "เทคนิคอ่านให้ไม่ลืมที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ" แม่เขียดก็นำเทคนิคนี้มาใช้และพบว่าเราจำความรู้ที่ได้จากการอ่านหนังสือได้เยอะมาก หวังว่าความรู้เหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกคนนะคะ