สวัสดีค่ะ มิตรรักแฟนเพจที่น่ารักทุกท่าน แหม ช่วงนี้ไม่รู้เป็นยังไง แม่เขียดเดินไปไหน ก็เจอแต่คนบ่นเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ใช่แค่ ส.ว นะคะ เดี๋ยวนี้วัย 30-40 ก็เห็นเป็นกันแล้ว!! แม่เขียดแอบตกใจ แล้วความดันโลหิตสูงมันคืออะไร?? ยังไง?? มาดูกันเลยจ๊ะ
------------
ความดันโลหิต หรือ แรงดันในเส้นเลือดแดงมี 2 ค่าคือ ค่าความดันขณะหัวใจบีบตัว (ค่าตัวบน) และค่าความดันขณะหัวใจคลายตัว (ค่าตัวล่าง) ซึ่งใช้หน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท
ในคนที่อายุ 18 ปี ขึ้นไปค่าความดันโลหิตไม่ควรเกิน 120/80 มม.ปรอท ส่วนผู้ที่มีค่าความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 120–139/80-89 มม.ปรอท จัดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ขึ้นกับอายุและสัดส่วนของร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราว คือ อารมณ์ หรือ ลักษณะกิจกรรมที่ทําในแต่ละวัน
ความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร??
ความดันโลหิตสูง หมายถึง การมีค่าความดันโลหิตตัวบน 140 มม.ปรอท หรือมากกว่า หรือมีค่าความดันตัวล่าง 90 มม.ปรอท หรือมากกว่า (โดยวัดหลังจากนั่งพัก 5 นาที และวัดซ้ำใน 2-3 วันต่อมา)
ประเภทของโรคความดันโลหิตสูง
-ประเภทที่มีสาเหตุจากโรคอื่น เช่น โรคเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ภาวะไตวาย โรคเนื้องอกของสมอง ภาวะครรภ์เป็นพิษ การได้รับยาหรือสารบางชนิด เป็นต้น ซึ่งพบประมาณร้อยละ 5–10 ของผู้ป่วย
-ประเภทที่ไม่ทราบสาเหตุ พบประมาณร้อยละ 90-95 ของผู้ป่วย ส่วนใหญ่ตรวจพบโดยบังเอิญ โดยมักพบในผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หรือกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง คือ กรรมพันธุ์ อ้วน ไขมันใน เลือดสูง ขาดการออกกําลังกายและรับประทานอาหารเค็ม
อาการแสดงของโรคความดันโลหิตสูง
ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้มีความดันโลหิตสูงจะไม่มีอาการ จึงไม่รู้ว่าตนเองจะแสดงอาการก็เมื่อเป็นมากและเป็นนาน อาการที่พบก็เช่น ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอยในตอนเช้า อาจมีคลื่นไส้หรือ ตามัวร่วมด้วย ส่วนอาการที่พบในคนที่ความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง หรือความดันโลหิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คือมีเลือดกําเดาออก เหนื่อยง่าย เพราะหัวใจต้องรับภาวะของความดันโลหิตสูงนาน
การรักษา
โรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถรักษาให้หายยขาด แต่สามารถควบคุมให้อยู่ในระดับปกติได้ เพื่อป้องกันความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ โดยใช้ยาร่วมกับการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจําวันให้เหมาะสม รวมทั้งการรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิตสูงร่วมด้วยซึ่งตัวยามีหลายชนิดได้แก่
-ยาขับปัสสาวะเพื่อลดจํานวนเกลือและน้ําในร่างกาย ทําให้ความดันโลหิตลดลง หลังกินยาจะปัสสาวะบ่อย อาจมีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด ท้องอืดหรือเป็นตะคริวได้
ยาช่วยลดความดันโลหิตมีหลายชนิด แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้ตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการข้างเคียงต้องปรึกษาแพทย์ทันที ทั้งนี้เพื่อปรับเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับอาการ
อันตรายจากโรคความดันโลหิตสูง-อัมพาต เนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ แตก หรืออุดตัน-ตามัว หรือตาบอด เนื่องจากหลอดเลือดในลูกตาตีบตัน หรือแตก
-ไตวายหรือ ไตพิการ เนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ
-หัวใจวาย ถ้ารุนแรงอาจชัก หมดสติและเสียชีวิตได้
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง
1. อาหาร ควรงดอาหารที่มีรสเค็ม หรือปรุงโดยสารที่ให้รสเค็ม เช่น เกลือ รวมทั้งผลชูรสและผงฟูทําขนมปัง
2. รับประทานผัก ผลไม้ทุกมื้อ เพราะมีแมกนีเซียมและกากใย ช่วยลดความดันโลหิต รวมทั้งรับประทานถั่วและธัญพืชอย่างเพียงพอ เพราะมีกากใยชนิดละลายน้ําช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ ที่สําคัญควรลดหรือ งดรับประทานไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ น้ํามันสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน
3. ควรควบคุมน้ําหนัก โดยลดการรับประทานน้ํามันไขมันน้ําตาลแป้ง
4. ออกกําลังกาย แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกําลังกายเนื่องจากบางรายอาจต้องควบคุมความดันโลหิตก่อนและเลือกออกกําลังกายที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องชนิดเบาถึงปานกลางระยะเวลา 30-40 นาที 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น เดินเร็ว 30-40 นาที ทุกวันแต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกําลังกายที่ใช้การออกแรงดัน เช่น การยกน้ําหนัก เพราะจะทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้
5. ความเครียดมีผลต่อความดันโลหิต จึงควรฝึกการผ่อนคลาย โดยการบริหารจิต การมีเมตตา การเจริญสติ สมาธิ
6. งดสูบุหรี่ เนื่องจากสารพิษในบุหรี่ทําให้เกิดการอักเสบของผนังเส้นเลือด หลอดเลือดแข็งตัวเร็วขึ้น
7. งดดื่มสุรา ยาดองของมึนเมาที่มีแอลกอฮอล์ ทําให้ความดันโลหิตสูง หัวใจวายได้8. รับประทานยา ให้สม่ำเสมอและต่อเนื่องตามที่แพทย์กําหนด ไม่ปรับเพิ่มหรือลดยาเอง พร้อมทั้งวัดความดันโลหิตเป็นระยะ
------------
ความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบเหมือนกันนะคะถ้าเราไม่สังเกตุหรือใส่ใจในสุขภาพมากพอ แม่เขียดเป็นห่วงสุขภาพของทุกท่าน หันมาดูแลสุขภาพกันนะค้า
ด้วยรักและห่วงใย
จากแม่เขียด ผู้สูงวัยใช่ไก่กา