กรมสุขภาพจิต แนะสํารวจอารมณ์ตนเองในช่วงหลังวันหยุดยาว และการดูแลจิตใจตัวเองด้วย 5 วิธีปฏิบัติ
เพื่อไม่ให้เกิดภาวะหดหู่หลังหยุดยาว พร้อมกลับมาทําหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
หลังจากที่ทุกคนได้ พักผ่อนอย่างเต็มที่ในช่วงหยุดยาวที่ผ่านมา
หลายคนคงได้ฟื้นฟูกําลังกายและกําลังใจของตนเองกลับมาจนพร้อม สําหรับการทํางานในช่วงเวลาต่อจากนี้
แต่หลายคนอาจจะยังมีความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรู้สึกว่า มีความเครียด เมื่อคิดถึงเรื่องการเรียนและการทํางานที่รออยู่ตรงหน้า
จนเกิดอาการที่เรียกว่า ภาวะหดหูหลังหยุดยาว (Post-holiday blues) ซึ่งเกิดได้จากการกลับมาสู่ภารกิจหรือกิจวัตรประจําวันแบบเดิมหลังจากการหยุดยาว
หากมีภาวะหดหู่หลังหยุดยาวนี้ จะมีความรู้สึกเหนื่อยแม้ได้พักผ่อนมาอย่างต่อเนื่องแล้ว รู้สึกเครียด วิตกกังวล เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ไม่อยากกลับไปเรียนหรือทํางาน
แม้คนส่วนมากจะมีอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก และสามารถหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ
แต่ก็จะสามารถรบกวนสมรรถภาพของตนเองได้ในช่วงกลับไปสู่ภารกิจเดิม ทําให้ทําหน้าที่ได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพในช่วงแรก
ยิ่งหากเป็นการหยุดต่อเนื่องที่ยาวนานแล้ว โอกาสจะเกิดภาวะหดหู่หลังจากหยุดยาวก็จะสูงขึ้นกว่าการหยุดช่วงสั้น
.
เราควรสํารวจอารมณ์ตนเองในช่วงหลังวันหยุดยาวว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่
และดูแลจิตใจตัวเองด้วย 5 วิธีการ ดังนี้
1) วางแผนชีวิตล่วงหน้า เพื่อลดความสับสนและความกังวลใจ ถึงภารกิจที่ต้องทําหลังจากกลับมารับผิดชอบต่อจนสิ้นปี
2) บันทึกสิ่งที่อยากเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ชีวิตมีเป้าหมายมากขึ้น อาจปรับจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงปีใหม่ก็ได้เช่นกัน
3) พูดคุยกับคนรอบข้าง ถึงความสุขที่ผ่านมาในช่วงวันหยุดหรือ ความกังวลใจที่จะต้องกลับมาทํางาน
4) ไม่เทียบตัวเองกับคนอื่น เพราะแต่ละคนมีกิจกรรมและความชอบที่แตกต่าง กัน ความสุขจึงเป็นสิ่งที่นํามาเปรียบเทียบกันไม่ได้ และ
5) หาความตื่นเต้นใหม่ ๆ เสมอ เช่น การเรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยเรียนมาก่อน ทํากิจกรรมที่สนุกและตื่นเต้น หรือวางแผนการเดินทางครั้งถัดไป เพื่อให้ชีวิตมีสีสัน และสภาพจิตใจพร้อมรับมือกับทุกปัญหาในอนาคต
ทั้งนี้ ขอให้ทุกท่านเดินทางกลับจากการพักผ่อนอย่างมีสติ เดินทางด้วยความระมัดระวัง และปลอดภัย
ภาพจาก https://livingprettyhappy.com/…/09/12/beat-post-holiday-bl…/
เนื้อหาจาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข